เล่าเรื่องผ่านภาพ
ไดอารี่ฉือจี้
30 ปีที่แล้ว อาสาสมัครจากมูลนิธิฉือจี้ได้ก้าวเข้าสู่ภาคเหนือของไทย เริ่มต้นงานการกุศลและการศึกษานับแต่นั้นมา และไม่เคยจากไปอีกเลย
จากการสร้างหมู่บ้าน การปรับปรุงถนน การนำพืชเศรษฐกิจเข้ามา ไปจนถึงดูแลเหล่าทหารผ่านศึกไร้ญาติในศูนย์พักพิงบ้านใหม่หนองบัว มอบค่าอาหารและเบี้ยยังชีพ ให้กลุ่มคนที่ไม่สามารถกลับมาตุภูมิได้ สามารถใช้ชีวิตที่เหลือในแผ่นดินแห่งนี้
30 ปีผ่านไปในพริบตา ภาคเหนือของไทยอาจเป็นเพียงดินแดนในบทกวี ภาพยนตร์ และเรื่องเล่าของใครหลายคน แต่สำหรับผู้ที่หยั่งรากลึกที่นี่ กลับเป็นอนุสรณ์ที่เปล่งประกายสว่างไสวที่สุดในชีวิต
การศึกษา… รอไม่ได้! และยิ่งปล่อยผ่านไม่ได้!
เพราะนี่คือสะพานสำคัญ ที่จะพาเด็กบนเขาในภาคเหนือไทยออกจากขุนเขาสู่โลกกว้าง
วันที่ 6 มีนาคม ผู้อำนวยการหวังตวนเจิ้ง นำทีมไปเยี่ยมโรงเรียนกวงฟูวิทยาคมในจังหวัดเชียงราย พร้อมนำข่าวดีว่ามหาวิทยาลัยฉือจี้สามารถจัดสรรโควตานักเรียนทุนให้นักเรียนที่มีความสามารถได้เรียนฟรี
โรงเรียนกวงฟูวิทยาคมหยั่งรากลึกในภาคเหนือของไทยมาหลายปี ผู้อำนวยการเหยียนเสียชิง อุทิศทั้งชีวิตให้ที่นี่ ช่วยเหลือนักเรียนในภาคเหนือไทยนับไม่ถ้วนในการเรียนภาษาจีน รวมถึงสร้างความมั่นคงด้านบุคลากรครูและประกันคุณภาพชีวิตของครู
วันนี้ ด้วยทุนเรียนฟรีและหลักประกันอาชีพจากฉือจี้
เส้นทางสู่อนาคตของนักเรียนบนเขาในภาคเหนือไทยจะกว้างไกลกว่าที่เคย!
กรรไกรเก่า ๆ เล่มหนึ่ง… สร้างปาฏิหาริย์พลิกฟื้นขุนเขาในภาคเหนือไทยได้อย่างไร?
คู่มือที่เขียนด้วยลายมือเล่มหนึ่ง… เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนบนเขาได้จริงหรือ?
30 ปีผ่านไป หมู่บ้านห้วยหกเปลี่ยนโฉมไปโดยสิ้นเชิง หมู่บ้านได้รับการพัฒนา ตัดถนนเชื่อมถึงกัน ประชากรเพิ่มขึ้น บนเนินเขาที่เต็มไปด้วยไร่ชาและกาแฟ หัวหน้าหมู่บ้าน นายอะแล รุ่งนภาศิริวงศ์ เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงด้วยความปลื้มปีติ
ห่างจากหมู่บ้านห้วยหกไปประมาณชั่วโมงกว่าๆ คือหมู่บ้านผาใต้ ซึ่งได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นยางิเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว หลายคนสูญเสียบ้าน… มูลนิธิฉือจี้ให้ความช่วยเหลือตามความต้องการของชาวบ้าน ร่วมกันสร้างบ้านใหม่ให้พวกเขาได้อยู่อาศัย
ช่วงเดือนมีนาคมคือฤดูกาลแห่งการสำเร็จการศึกษา
ปีนี้ โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ฉลองครบรอบ 20 ปี พร้อมจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ
คณาจารย์กล่าวอวยพรและชี้แนะ ส่งนักเรียน 264 คนขึ้นเรือแล่นออกสู่โลกกว้าง
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ผู้อำนวยการหวังตวนเจิ้งได้นำทีมไปยังหมู่บ้านแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นยางิ เพื่อจัดพิธีวางศิลาฤกษ์สำหรับบ้านแห่งความรักที่มูลนิธิฉือจี้สร้างให้
โครงการ “บ้านแห่งรัก” นี้ เกิดจากน้ำใจของทุกคน คุณเฮ่อกุ้ยเฟิน อดีตบรรณาธิการนิตยสาร “Common Health” ของไต้หวันได้บริจาคที่ดิน ร่วมกับแรงสนับสนุนจากสมาชิกฉือจี้ทั่วโลก ทำให้ผืนดินแห่งนี้กำลังจะกลายเป็นบ้านหลังใหม่สำหรับ 6 ครอบครัว
สายใยแห่งโชคชะตาและการอยู่เคียงข้างกัน 30 ปี เป็นเรื่องราวไม่คิดไม่ฝัน วันที่ 3 มีนาคมเป็นครบรอบ 30 ปีของฉือจี้ในภาคเหนือของไทย และครบรอบ 20 ปีของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ใบหน้าที่คุ้นเคยมากมายมาร่วมเป็นพยานในเส้นทางแห่งความรักการเปลี่ยนแปลงของภาคเหนือไทย
ผู้นำทีมสำรวจยุคแรก…ผู้อำนวยการหวังตวนเจิ้ง
นักธุรกิจท้องถิ่นที่บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียน…ดร.ประยูร พลพิพัฒนพงศ์
จากครูรุ่นแรกที่ปัจจุบันกลายเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน…ผอ.นนทภัทร ประวีณชัยกุล
ศิษย์เก่ารุ่นแรกที่กลับมาเป็นครู…นายสุพจน์ จารุชัยวงษ์สกุล
การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทุกคนต่างเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ร่วมกันหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ทำให้การศึกษาฝังรากลึกในภาคเหนือของไทย
โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ถูกเข้าใจว่าเป็นโรงเรียนนานาชาติ เพราะความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียนที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร การเรียนการสอนสามภาษา (จีน-ไทย-อังกฤษ) และการศึกษาที่เน้นด้านคุณธรรมจริยธรรม
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ศิษย์เก่าของที่นี่กระจายตัวไปทั่วทุกแวดวงอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นทนาย นักออกแบบ พยาบาล ตำรวจ หรือเจ้าของกิจการ แต่สิ่งที่พวกเขาภาคภูมิใจที่สุด ไม่ใช่เพียงความสำเร็จ…
แต่คือจิตวิญญาณแห่งความเมตตา คุณธรรมจริยธรรม ที่ปลูกฝังอยู่ในใจของพวกเขาเสมอมา
ปีนี้ ครบรอบ 30 ปี ฉือจี้ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในภาคเหนือไทย และ 20 ปีของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ การหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความดีและการหยั่งรากลึกทางการศึกษาประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
จากโทรศัพท์หนึ่งสายที่ได้กำหนดที่ตั้งโรงเรียนในวันนั้น… สู่รากฐานการศึกษาควบคู่คุณธรรมที่ผลิดอกออกผลในวันนี้
การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถตลอด 20 ปี ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย พื้นที่ด้านหลังของหอพักนักเรียนถูกเปลี่ยนเป็นไร่ชาอินทรีย์กว่า 200,000 ต้น ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน
ศิษย์เก่าดีเด่น

นายเกล้า เล้าสินวัฒนา (เกล้า)
นักศึกษาปริญญาเอก สาขา ชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัย การเมืองแห่งชาติ(ไต้หวัน)














นายเกล้า เล้าสินวัฒนา (เกล้า)
นักศึกษาปริญญาเอก สาขา
ชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัย
การเมืองแห่งชาติ(ไต้หวัน)
นายเกล้า เล้าสินวัฒนาหรือเกล้าในวัย 26 ปี อาจไม่ใช่ชื่อที่คุณคุ้นหู แต่สำหรับแรงงานไทยในไต้หวันแล้ว เขาคือ YouTuber คนดังที่สร้างสรรค์คอนเทนต์สอนภาษาจีนให้แรงงานไทยได้ใช้ชีวิตในไต้หวันอย่างราบรื่น และช่วยแก้ปัญหาที่พวกเขาเผชิญทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน
เกล้าเป็นคนไทย พ่อแม่ส่งเขาเรียนที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่เพื่อให้ได้เรียนภาษาจีน เป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 4 ของโรงเรียนและเป็นนักเรียนคนแรกในรอบ 20 ปีที่ได้รับการศึกษาเต็มระบบจนถึงระดับปริญญาเอก ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาเอก สาขาชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัยการเมืองแห่งชาติ(ไต้หวัน)
เกล้าเเติบโตในครอบครัวชนชั้นกลางที่พ่อเปิดอู่ซ่อมรถ เขาเป็นลูกคนที่ 6 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน หลายคนในครอบครัวมีการศึกษาสูง เกล้าเข้าเรียนที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ตั้งแต่ ป.1 จนจบ ม.6 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฉือจี้ สาขาการสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาสนใจศึกษาด้านศาสนา จนตัดสินใจเลือกทำวิจัยเกี่ยวกับการยอมรับสถานะของภิกษุณี
แม้ชีวิตในระดับปริญญาเอกจะยุ่งแค่ไหนเกล้าก็ยังแบ่งเวลาทำวิดีโอสอนภาษาจีนให้แรงงานไทยแบบฟรี ๆ เพราะเขาไม่เคยลืมช่วงเวลาที่เคยคุณครูพาไปทำอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่นตอนอยู่ที่โรงเรียน เขารู้ดีว่าความสุขที่แท้จริงคือการได้แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

\ คำอวยพรจากเกล้า /
นายทิวัตดิ์ แซ่หว่าง (ชง)
จากเถ้าแก่น้อย
สู่เจ้าของกิจการใหญ่
เมื่อครั้งยังเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ นายทิวัตดิ์ แซ่หว่างหรือชง ก็ช่วยคุณแม่ดูแลกิจการโฮมสเตย์และร้านขายของชำแล้ว
ด้วยทักษะที่ฝึกฝนมาตลอดและความสามารถด้านภาษาไทย อังกฤษ และจีนที่ได้จากโรงเรียน ชงเริ่มทำธุรกิจท่องเที่ยวในเชียงใหม่ทันทีที่จบการศึกษา รองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก จนกลายเป็น “เถ้าแก่น้อย” ชื่อดังในพื้นที่
แม้โควิด-19 จะพัดกระหน่ำวงการท่องเที่ยวนาน 3 ปี ทำให้ธุรกิจซบเซา แต่ชงไม่ยอมแพ้ นำคำสอนของครูมาใช้ และพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เขาผันตัวเองสู่ธุรกิจใหม่ด้วยการตั้งโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดในกรุงเทพฯ จ้างพนักงานกว่า 60 คน เพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน และทำให้ธุรกิจของเขาเติบโตขึ้นไปอีกขั้น

\ คำอวยพรจากชง /
นายสุรัตน์ สุภาทา (เชา)
นักออกแบบรถยนต์
ที่เดินตามความฝัน
นายสุรัตน์ สุภาทา หรือเชา ศิษย์เก่ารุ่นที่ 3 ปัจจุบันเป็นนักออกแบบรถยนต์ ความฝันของเชาคือการออกแบบภายนอกรถยนต์มาตั้งแต่เด็ก และก็ไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเองเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น ทุ่มเทสร้างสรรค์ให้รถทุกคันงดงาม โดดเด่น และดึงดูดสายตา
เมื่อย้อนกลับไปในวัยเด็ก โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่เปรียบเสมือนบ้านที่อบอุ่นสำหรับเชา รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้มาโรงเรียนในทุกๆ วัน ที่นี่ไม่เพียงมอบความรู้ แต่ยังสอนให้เชาเข้าใจความสำคัญของความอ่อนน้อมถ่อมตน การเอื้อเฟื้อ และการทำความดี คุณค่าอันงดงามเหล่านี้ฝังรากลึกในชีวิต กลายเป็นพลังขับเคลื่อนให้เดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง เชารู้ดีว่า ความสำเร็จทุกวันนี้เกิดจากความร่วมมือของโรงเรียน ครู เพื่อน รุ่นพี่รุ่นน้อง และขอบคุณโรงเรียนที่บ่มเพาะในทุกๆ ด้าน เชาอยากขอบคุณทุกคนที่เคยสนับสนุนและอยู่เคียงข้าง และจะยังคงตอบแทนสังคมด้วยจิตสำนึกที่ดีเสมอ

\ คำอวยพรจากเชา /
นายทินกร ดีวงษ์ (บอส)
จากโรงเรียนฉือจี้
สู่ CG Director ชั้นแนวหน้า
นายทินกร ดีวงษ์ หรือบอส ศิษย์เก่ารุ่นแรก ปัจจุบันเป็น CG Director (Computer-generated imagery) ในช่วงที่ศึกษาในโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ บอสได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ เหมือนน้ำที่เปลียนสภาพไปได้ทุกที่ และสามารถสื่อสารกับผู้คนทุกวัยได้อย่างไหลลื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้บอสสามารถทำงานในอุตสาหกรรมที่ต้องทำงานร่วมกับทีมที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประสบการณ์ในโรงเรียนยังสอนให้บอสรู้จักการบริหารเวลาและทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ซึ่งกลายเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในอาชีพการงานในปัจจุบัน

\ คำอวยพรจากบอส /
นายกช เกียรติธีรชัย (กลาง)
รักษาหัวใจที่อบอุ่น
ท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี
บริษัทของนายกช เกียรติธีรชัย หรือกลาง อยู่ท่ามกลางตึกสูงระฟ้า ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เป็นโปรแกรมเมอร์ทำเว็บไซต์และจัดการโค้ดดิ่งต่างๆ ในโลกของตัวเลขและข้อมูลที่เย็นชืด กลางยังคงรักษาหัวใจที่อบอุ่นเอาไว้ เพราะมี “โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่” เป็นจุดเริ่มต้นที่หล่อหลอมที่ทำให้กลางเป็นคนที่อบอุ่นขึ้น
ในวัยเด็ก พ่อแม่ของกลางพยายามให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี สุดท้ายเลือกที่จะให้กลางและน้องสาวเข้าเรียนที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ เพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ที่ห่างจากบ้านกว่า 700 กิโลเมตร เมื่อเริ่มเข้าเรียนใหม่ๆ หอพักยังสร้างไม่เสร็จ กลางอาศัยอยู่กับครู ทำให้ได้สัมผัสถึงความอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน ครูไม่เพียงแต่สอนหนังสือ แต่ยังสนับสนุนให้เข้าร่วมการแข่งขันด้านเทคโนโลยี จนได้ค้นพบเส้นทางที่ตัวเองรัก
แม้ตอนนี้เขาจะเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพ แต่ก็ยังหาเวลาทำงานอาสาสมัครที่มูลนิธิฉือจี้ในประเทศไทย ช่วยบันทึกข้อมูลผู้ป่วยในการตรวจรักษาฟรีให้กับผู้ลี้ภัย โดยเชื่อว่าเทคโนโลยีไม่ใช่แค่เครื่องมือ แต่เป็นสะพานที่ส่งต่อความเมตตา และเขาจะเดินหน้าสานต่อสิ่งนี้ตลอดไป

\ คำอวยพรจากกลาง /
นายกฤษฎา อินต๊ะคำมา (อาร์ม)
ความสำเร็จจากรายละเอียดเล็กๆ
จากสนามเทควันโดสู่เวทีชีวิต
เสียงเตะและหมัดดังก้องในสนามซ้อมเทควันโด เด็กๆ จดจ่อกับการฝึกซ้อม โค้ชอาร์มคอยแนะนำแต่ละท่วงท่าอย่างใส่ใจ ย้ำเตือนเด็กๆ ให้ยืนให้มั่นคงรักษาสมดุล อาร์มเข้าใจดีว่า “กีฬา” ไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่คือการใส่ใจในทุกรายละเอียด และทุกความตั้งใจเล็ก ๆ น้อย ๆ จะส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาว
ทัศนคตินี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเรียนที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ตั้งแต่ประถมถึงมัธยม อาร์มคุ้นเคยกับการพับเสื้อผ้าให้เรียบร้อย จัดของให้เป็นระเบียบ แยกขยะ ทุกสิ่งเหล่านี้ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่กลับหล่อหลอมวินัยและสมาธิให้กับอาร์ม ซึ่งกลายเป็นจุดแข็งที่ช่วยให้อาร์มมีความโดดเด่นในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ จนสามารถก้าวขึ้นเป็นตัวแทนนักกีฬาระดับจังหวัด
วันนี้อาร์มเลือกเป็นโค้ช ถ่ายทอดความสำคัญของรายละเอียดให้กับลูกศิษย์ เพราะเชื่อว่าไม่ว่าจะในสนามกีฬา หรือเส้นทางชีวิต ทุกความเคยชินที่เราสร้างขึ้น ล้วนเป็นพลังที่พาเรามุ่งไปสู่ความสำเร็จ

\ คำอวยพรจากอาร์ม /
นายธนกร ไชยเลิศ (ซิโก้)
การศึกษาและการกู้ภัย สร้างความอบอุ่นให้โลกใบนี้ด้วยการลงมือทำ
โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ไม่เพียงเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการ แต่ยังปลูกฝังจิตสำนึกด้านมนุษยธรรม และสร้างโอกาสให้เด็ก ๆ ค้นพบเป้าหมายในชีวิต นายธนกร ไชยเลิศ หรือซิโก้ ก็เป็นหนึ่งในนั้น จากประสบการณ์การทำกิจกรรมเพื่อสังคม และการอบรมด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยในโรงเรียน ทำให้เขาตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะรับใช้สังคม ซิโก้ได้ทำตามความฝันที่อยากจะเป็นทั้ง “นักกู้ภัย” และ “ครู” ได้สำเร็จในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

\ คำอวยพรจากซิโก้ /
น.ส.เมทนี อิ่นคำ (อ้อม)
ชงรสชาติของชีวิต
ด้วยความดีและจริงใจ
ช่วงเวลาที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ไม่เพียงแต่ให้ความรู้กับอ้อม แต่ยังเป็นที่ที่ได้มิตรภาพอันล้ำค่า สำหรับคนที่ค่อนข้างขี้อายอย่างอ้อม โรงเรียนแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ช่วยให้ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และกล้าที่จะแสดงออก ความรู้สึกที่ตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้ไปโรงเรียน กลายเป็นหนึ่งในความทรงจำที่มีค่าที่สุดในชีวิตของอ้อม
หลังจบการศึกษา อ้อมเลือกศึกษาต่อที่คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อปูทางสู่ความฝันของตัวเอง และในที่สุด หลังจบการศึกษาก็กล้าที่จะก้าวออกมาเป็นผู้ประกอบการ เปิดคาเฟ่ “Tamora” กับพี่สาว ดูแลทุกรายละเอียดในร้านด้วยตัวเอง ตั้งแต่การชงเครื่องดื่มไปจนถึงการออกแบบสภาพแวดล้อม แม้กระทั่งการบริการลูกค้า ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
แน่นอนว่าเส้นทางการเป็นเจ้าของกิจการไม่เคยง่าย เจอปัญหาแล้วปัญหาเล่า แต่ทุกครั้งที่ท้อ อ้อมจะนึกถึงคำสอนจากโรงเรียนว่า “ใจคิดว่าไม่ยาก ทำอะไรก็ไม่ยาก” และนั่นเองที่กลายเป็นพลังให้ลุกขึ้นสู้ และนำพาคาเฟ่ใก้เติบโตต่อไป

\ คำอวยพรจากอ้อม /
นายภิชัยพัทธ์ คังเจริญธนกิจ (อิคคิว)
เป็นทั้งครู เป็นพ่อ และเป็นพี่ชาย
นายภิชัยพัทธ์ คังเจริญธนกิจ หรือที่เด็ก ๆ ในโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่เรียกติดปากว่า “ครูอิคคิว” ชื่อเหมือนเณรน้อยอิคคิวซังในการ์ตูน ที่มักใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา
อิคคิวเป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 3 ของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ กลับมาเป็นครูสอนและเป็นครูหอพักที่โรงเรียนเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เมื่อถึงเวลาต้องเคร่งครัด อิคคิวจะเป็นเหมือนพ่อ กฎคือกฎ ไม่อนุญาตให้ละเมิดหลักการ เด็กๆ บางคนที่ไม่เคยกลัวใคร แต่กลับเกรงอิคคิว แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นเหมือนพี่ชายคนโตที่คอยรับฟังปัญหาของเด็ก ๆ อย่างเข้าใจ ค่อยๆ ช่วยให้พวกเด็กๆ หาทางออกได้ด้วยตัวเอง ให้คำแนะนำโดยไม่ใช้การตำหนิติเตียน และเมื่อได้เล่นสนุกกับเด็กๆ ก็เหมือนเป็นประธานฝ่ายสันทนาการ พาทุกคนไปปิกนิก จัดปาร์ตี้ และเข้าร่วมวิ่งมาราธอนด้วยกัน
เพียงแค่ได้พูดคุยกับอิคคิวในช่วงเวลาสัมภาษณ์สั้นๆ แค่ 1 ชั่วโมง ก็ทำให้รู้สึกว่า การใช้ชีวิตในหอพักที่โรงเรียนฉือจี้นั้น คงเป็นช่วงเวลาที่อบอุ่นและสนุกที่สุด แม้ว่าจะมีกฎระเบียบมากมาย แต่นักเรียนก็เต็มใจทำตาม เพราะพวกเขารู้ว่ามันมีเหตุผล
เมื่อถามว่าทำไมอิคคิว ถึงอยากเป็นครูหอพัก อิคคิวบอกว่าเพราะตอนเด็ก ก็เคยเป็นนักเรียนหอเหมือนกัน ชีวิตหอพักในตอนนั้นให้ความทรงจำที่มีความสุขมากมาย เพื่อนดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยังได้ช่วยกันเรียนหนังสืออย่างมีความสุข ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมหอพักแบบนี้ ให้เด็กได้เรียนอย่างสบายใจจึงเป็นภารกิจที่อิคคิวอยากจะทำให้เด็กๆ รุ่นต่อไป

\ คำอวยพรจากอิคคิว /
นายชลธี ต๋าคำ (ฝาง)
จากลูกชาวสวนผลไม้
สู่วงการทางการแพทย์
นายชลธี ต๋าคำ หรือฝาง เป็นศิษย์เก่ารุ่นแรกของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ได้รับทุนการศึกษาจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฉือจี้และศูนย์การแพทย์มหิดลผ่านข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้เข้าเรียนในสาขาพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฉือจี้ไต้หวัน โอกาสนี้ได้เปิดโลกทัศน์ให้ฝาง ได้ก้าวออกจากพื้นที่ชนบทสู่โลกกว้าง จนประสบความสำเร็จในวันนี้ด้วยการเป็นพยาบาลวิชาชีพประจำศูนย์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร
จุดเริ่มต้นของสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างครอบครัวของฝางกับมูลนิธิฉือจี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วินาทีที่นายจ้างของบิดาได้บริจาคที่ดินให้กับมูลนิธิเพื่อสร้างโรงเรียน เมื่อย้อนระลึกถึงช่วงเวลาที่ศึกษาในโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ สิ่งที่ตราตรึงใจมาจนถึงทุกวันนี้คือ โรงเรียนได้หล่อหลอมให้ฝางเป็นคนที่มีจิตอาสาและรู้จักสำนึกคุณ การได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาตั้งแต่วัยเยาว์ได้บ่มเพาะให้มีอุปนิสัยชอบช่วยเหลือผู้อื่น การเรียนรู้จากวาทะธรรมจิ้งซือ(คติคำสอนจากท่านธรรมจารย์เจิ้งเอี๋ยน) และกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ทำให้กล้าที่จะแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดาและผู้มีพระคุณอย่างสม่ำเสมอ ค่านิยมเหล่านี้ได้ฝังลึกในตัวจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและตัวตนของฝางในทุกวันนี้

นายสุพจน์ จารุชัยวงศ์สกุล
เส้นทางผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา
ที่ร่วมเดินเคียงข้างศิษย์
นายสุพจน์ จารุชัยวงศ์สกุล ศิษย์เก่ารุ่นแรกของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ หลังสำเร็จการศึกษาได้ตัดสินใจกลับมาสู่โรงเรียนแห่งนี้ในฐานะครูผู้สอน ในสายตาของสุพจน์ โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่คือสถานที่ที่เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ และยังมอบความกล้าให้รับมือกับความท้าทายในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา
สิ่งที่พิเศษที่สุดในเส้นทางสายอาชีพครูของสุพจน์คือการที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับลูกศิษย์ในการค้นคว้า แสวงหาความรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับแนวทางการเรียนการสอน การเดินทางบนเส้นทางการศึกษานี้ ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเติบโตและพัฒนาตนเองเท่านั้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ การได้เป็นส่วนหนึ่งในการบ่มเพาะเยาวชนรุ่นต่อไปให้เปี่ยมด้วยพลังและศักยภาพ สำหรับสุพจน์แล้ว โรงเรียนไม่ใช่เพียงสถานที่ถ่ายทอดความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเมตตาและความรัก อีกทั้งยังเป็นเวทีในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์อนาคตที่สดใส
ณ ที่แห่งนี้ การศึกษาจึงไม่ใช่เพียงอาชีพ แต่เป็นกระบวนการอันงดงามของการเติบโตและการค้นพบร่วมกันระหว่างครูและศิษย์

นางสาวพิชญ์ชา อยู่ศิริ (ไบร์ท)
จากรั้วโรงเรียนสู่สถาปนิกมืออาชีพ
นางสาวพิชญ์ชา อยู่ศิริ หรือไบร์ท เป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 2 ของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ได้เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพตลอดช่วงการศึกษาที่โรงเรียน ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียน แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนงานและส่งมอบผลงานให้ลูกค้าได้ตรงตามกำหนดในสนามการทำงาน งานในสายอาชีพนักออกแบบเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือเป็นทีม และด้วยประสบการณ์จากกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน ช่วยปลูกฝังและพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสนับสนุนเกื้อกูลกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการร่วมกัน
สิ่งที่ไบร์ทรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณมากที่สุด คือการที่โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ไม่เพียงสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี แต่ยังได้บ่มเพาะทักษะที่สามารถนำไปใช้ในทุกแง่มุมของชีวิต ทำให้ไบร์ทสามารถสร้างรากฐานที่มั่นคงในการก้าวสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน และเปิดมุมมองใหม่ๆ และแสดงออกถึงจิตวิญญาณอันเป็นเอกลักษณ์ของฉือจี้ ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อทุกย่างก้าวในเส้นทางอาชีพ ทำให้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนไม่เพียงเป็นแรงผลักดันให้ไบร์ทพัฒนาเติบโตในสายงาน แต่ยังเป็นพลังที่ช่วยดึงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่

นรต.ชาญชล ศิริวงค์ (แจ๊ป)
ก้าวสู่เส้นทางผู้พิทักษ์สันติราษฏร์
นรต.ชาญชล ศิริวงค์ หรือแจ๊ป ศิษย์เก่ารุ่นที่ 9 โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ และว่าที่นายตำรวจในอนาคตเมื่อมองย้อนกลับไปที่ประสบการณ์การเติบโตในโรงเรียนฉือจี้ ได้เห็นว่าโรงเรียนนี้ไม่เพียงเป็นสถาบันการศึกษา แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตของตนเอง ทุกช่วงเวลาที่ได้ใช้ร่วมกับเพื่อนๆ ได้จุดประกายความมุ่งมั่น และช่วยให้ค้นพบเส้นทางที่ต้องการก้าวเดินต่อไป การชี้แนะและการเปิดโลกทัศน์จากคุณครูทำให้รู้วิธีการเดินตามความฝันและทำให้เป้าหมายกลายเป็นจริง ประสบการณ์และสิ่งที่แจ๊ปได้รับจากที่นี่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดในชีวิต
ทุกครั้งที่มีวันหยุดยาวก็มักจะกลับมาที่โรงเรียนเพื่อเยี่ยมเยียนคุณครูที่เคยให้คำแนะนำและคอยดูแลในวันวาน ความห่วงใยและความรักจากครูทุกท่านนั้นยังคงอยู่เสมอและยิ่งทบทวีมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งกลายเป็นพลังในการผลักดันให้ก้าวต่อไปในชีวิต ด้วยความขอบคุณและสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในโรงเรียนนี้ แจ๊ปพร้อมที่จะก้าวไปสู่เส้นทางผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ ด้วยความกล้าหาญและความตั้งใจที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและเดินหน้าสร้างความสำเร็จในชีวิตต่อไป

นางสาวไอรดา ศิริภัทร์กุล (ยอง)
การเริ่มต้นสู่เส้นทาง
การเป็นทนายความ
นางสาวไอรดา ศิริภัทร์กุล หรือยอง ศิษย์เก่ารุ่นที่ 2 โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ปัจจุบันทำงานเป็นทนายความ เมื่อย้อนมองถึงช่วงเวลาที่ศึกษาในโรงเรียนฉือจี้ ตระหนักและสัมผัสได้ว่าประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากในโรงเรียนมีความสำคัญต่อเส้นทางอาชีพการงานมากแค่ไหน โรงเรียนฉือจี้ไม่เพียงมอบพื้นฐานความรู้ที่มั่นคง แต่ยังได้รับความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่จากคุณครูและโรงเรียน ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจและเป็นกำลังใจสำคัญตลอดช่วงวัยของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่
โรงเรียนให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาจีนอย่างเข้มข้น ทำให้มีทักษะด้านภาษาจีนที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ได้วางรากฐานที่ดีให้กับบุคลิกภาพของยอง ครูมักจะเน้นย้ำให้มีความอดทน มุ่งมั่น และรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างกลมเกลียว ซึ่งล้วนเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นในอาชีพทนายความ นอกจากความรู้ โรงเรียนยังปลูกฝังระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน ช่วยสร้างนิสัยการทำงานที่เป็นระเบียบ มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นมืออาชีพ คุณลักษณะเหล่านี้ไม่เพียงแต่หล่อหลอมบุคลิกภาพที่ดี แต่ยังช่วยให้ยองมีความโดดเด่นในสายงาน สิ่งที่ทำให้ประทับใจที่สุดคือ คือความตั้งใจของโรงเรียนที่พร้อมสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนเดินตามความฝัน แม้เป้าหมายจะดูไกลเกินเอื้อม แต่ครูผู้สอนก็พร้อมอยู่เคียงข้างและช่วยให้ทุกคนก้าวไปสู่จุดหมาย ความใส่ใจและการสนับสนุนจากโรงเรียนนี้ กลายเป็นพลังสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ยองประสบความสำเร็จในเส้นทางทนายความได้อย่างทุกวันนี้

นายณัฐสิทธิ์ มหาวรรณ (ณัฐ)
ครูผู้มีหัวใจแห่งความเมตตา
นายณัฐสิทธิ์ มหาวรรณ หรือณัฐ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 6 ปัจจุบันเป็นครูข้าราชการ ณัฐใช้เวลา 12 ปีในโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ตั้งแต่ระดับ ป.1 ถึง ม.6 ตลอดเวลาที่เรียน ณัฐได้รับโอกาสในการเรียนรู้มากมายและการดูแลเอาใจใส่จากคุณครูอย่างอบอุ่น คุณครูไม่เพียงถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ แต่ยังเป็นแบบอย่างที่ดี สอนให้ณัฐเป็นคนมีศีลธรรมและจริยธรรม คำสอนเหล่านี้ทำให้ณัฐมุ่งมั่นที่จะเป็นครูที่เอาใจใส่นักเรียน
ณัฐเชื่อว่าพื้นฐานความรู้มีความสำคัญต่ออนาคต โดยเฉพาะการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ณัฐสื่อสารกับชุมชนชาวจีนที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณัฐหวังว่าโรงเรียนจะยังคงเป็นสถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ รุ่นใหม่ต่อไป

\ คำอวยพรจากณัฐ /
ความหวังทางการศึกษาของภาคเหนือไทย
มุมเล่าสู่กันฟัง
เส้นด้ายหนึ่งเส้น สายใยผูกพันชั่วชีวิต
วันนี้เป็นพิธีจบการศึกษาของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น กิจกรรมต่อเนื่องทั้งวัน นักเรียนและครูต่างก็เหนื่อยล้า แต่งานเลี้ยงน้ำชาสำนึกคุณที่เริ่มขึ้นเวลา 16.30 น. เชื่อว่าจะเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนที่จบการศึกษาทุกคนจะจดจำไปตลอดชีวิต…
ความลับของตราสัญลักษณ์โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่
คุณเคยเห็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ไหม สัญลักษณ์นี้ซ่อนความลับและความหมายของผู้ออกแบบไว้ คุณหยางเยว่เฟิง อดีตผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนประถมศึกษาฉือจี้ฮวาเหลียน ได้เปิดเผยความหมายที่แฝงอยู่ในสัญลักษณ์นี้…
ในปีนี้ นับเป็นวาระครบรอบ 30 ปีของการช่วยเหลือในภาคเหนือไทยของมูลนิธิฉือจี้ และครบรอบ 20 ปีของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ นี่ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงเวลาที่ผ่านไป แต่เป็นบทพิสูจน์แห่งความรักและการอุทิศตนเพื่อการศึกษา
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนมีองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ โดยรอบนอกสุดมี กลีบใบไม้แปดกลีบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทน มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ความตั้งมั่นชอบ) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการปฏิบัติธรรมและการดำเนินชีวิต
ส่วนตรงกลางของตราสัญลักษณ์ จะเห็นเป็นรูป ปล้องไผ่ ที่ถูกล้อมรอบด้วยกลีบดอกไม้ 4 กลีบ ซึ่งสื่อถึงพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ด้วยความหวังว่าเมื่อนักเรียนทุกคนจบจากโรงเรียนแล้ว จะเติบโตเป็นผู้มีจิตใจที่ยิ่งใหญ่ที่ “เปี่ยมด้วยเมตตาโดยไม่นึกเสียใจ เปี่ยมด้วยกรุณาโดยปราศจากความขุ่นข้องหมองใจ เปี่ยมด้วยมุทิตาโดยไม่มีเงื่อนไข และเปี่ยมด้วยอุเบกขาโดยไร้ความกังวล” และในอนาคต เมื่อพวกเขาก้าวเข้าสู่สังคม ก็จะกลายเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการสร้างสังคมที่สงบสุข
ลวดลายปล้องไผ่ตรงกลาง แสดงถึงความคาดหวังที่มีต่อแนวทางการศึกษา ผู้อำนวยการหยางกล่าวว่า การออกเสียงของคำว่า “ไผ่” ในภาษาจีนท้องถิ่นไต้หวันคล้ายกับคำว่า “เต๋อ(德)” ซึ่งแปลว่าคุณธรรม จึงเป็นสัญลักษณ์ของการศึกษา ที่ให้ความสำคัญกับคุณธรรมเป็นอันดับแรก ตามแนวคิด “สอนจรรยา ฟูมฟักคุณธรรม” นอกจากนี้ ไผ่มีลักษณะกลวงข้างใน ซึ่งแสดงว่านักเรียนทุกคนควรมีใจที่ว่างพร้อมรับความรู้ใหม่ ๆ มีความถ่อมตน ไม่ควรยโสหรือหยิ่งผยอง
นอกจากนี้ ไผ่ยังเป็นพืชที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสัญลักษณ์แทนการเติบโตของนักเรียน และสื่อถึงการที่บุคคลจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีความเพียรพยายาม ไม่มีทางลัดสู่ความสำเร็จ ดังนั้นโรงเรียนจึงคาดหวังให้นักเรียนทุกคนตั้งใจศึกษา ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า และไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
ผู้อำนวยการหยางมีความหวังว่าลวดลายไผ่นี้จะสามารถออกแบบให้เรียบง่ายและมีความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น ไม่ว่าในวันข้างหน้าตราสัญลักษณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ คือความคาดหวังของครูผู้สอน ที่ต้องการให้เยาวชนเติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่ดี และเป็นรากฐานที่มั่นคงของสังคม
ภาพและเนื้อหาโดย : เซียวอี้จวิ้น
วันนี้เป็นพิธีจบการศึกษาของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น กิจกรรมต่อเนื่องทั้งวัน นักเรียนและครูต่างก็เหนื่อยล้า แต่งานเลี้ยงน้ำชาสำนึกคุณที่เริ่มขึ้นเวลา 16.30 น. เชื่อว่าจะเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนที่จบการศึกษาทุกคนจะจดจำไปตลอดชีวิต
ในช่วงท้ายของงานเลี้ยงน้ำชา เหล่านักเรียนที่แต่เดิมสนุกสนานกับการแสดงอย่างมีความสุข บรรยากาศกลับเปลี่ยนเป็นเงียบสงบและจริงจังขึ้น นักเรียนทุกคนลุกขึ้นยืนล้อมรอบบริเวณงาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พวกเขาได้รับการศึกษา พนมมือและมองไปที่คณาจารย์ที่อยู่ตรงกลางลาน เริ่มร้องเพลง “พระคุณที่สาม” เมื่อเพลงดำเนินไป ใบหน้าและแววตาของนักเรียนบางคนเริ่มกลั้นความรู้สึกไว้ไม่อยู่ และเมื่อเพลงจบลง นักเรียนทยอยเดินไปหาครูที่พวกเขาเคารพที่สุด นำเส้นด้ายสีขาวหรือสายสิญจน์ที่เตรียมไว้ออกมา คุกเข่าลงด้วยความเคารพ หวังให้ครูอวยพรให้แก่พวกเขาเป็นครั้งสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา
ในวัฒนธรรมไทย เส้นด้ายสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ คำอวยพร และความโชคดี นักเรียนต่างเฝ้ารอให้คุณครูที่ตัวเองเคารพรัก ผูกด้ายขาวบนข้อมือ เพื่อรับพรจากผู้อาวุโสด้วยความเคารพ นักเรียนทุกคนคุกเข่าเรียงแถวอยู่เบื้องหน้าคุณครู เมื่อครูค่อยๆ จับข้อมือของเด็กๆ อย่างระมัดระวัง ค่อยๆ ผูกด้าย พร้อมกับกล่าวคำสั่งสอนและให้กำลังใจ
ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วินาทีนี้ คุณครูแต่ละท่านได้กล่าวเตือนสติถึงข้อบกพร่อง สิ่งที่ต้องระมัดระวัง และสิ่งที่ควรปรับปรุงในตัวของนักเรียนแต่ละคน ขณะที่นักเรียนเงยหน้าขึ้นมองครูด้วยดวงตาที่เอ่อคลอไปด้วยน้ำตา กลั้นเสียงสะอื้น ตั้งใจฟังคำสอนเป็นครั้งสุดท้าย คุณครูบางท่านลูบศีรษะนักเรียนเบา ๆ ราวกับเป็นลูกของตนเอง ภาพของครูกับลูกศิษย์ที่สวมกอดกันด้วยความผูกพัน ยังคงตราตรึงอยู่ในใจของทุกคน การผูกด้ายสีขาวที่ดูเรียบง่ายนี้ ไม่ใช่เพียงแค่พิธีกรรม แต่เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างครูกับศิษย์ ที่จะคงอยู่ตลอดไป
ครูและนักเรียนของโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่มีทั้งคนไทย คนจีน คนพม่า และคนมาเลเซีย แต่ในขณะนี้ ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติหรือสายเลือด สิ่งที่ผูกพันครูและนักเรียนทุกคนคือสายใยและวาสนาที่สะสมมาหลายชาติ ดั่งสุภาษิตโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ครูคือผู้ถ่ายทอดวิชา ผู้มอบความรู้ ผู้ขจัดความสงสัย” แต่แท้จริงแล้ว ความทุ่มเทของครูนั้นมีมากเกินกว่าคำนิยามนี้ หากมิได้ใช้หัวใจในการสั่งสอนและสังเกตนักเรียนอย่างใส่ใจใกล้ชิด ครูก็คงไม่สามารถรู้ได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีนิสัย จุดแข็ง จุดอ่อน หรือสิ่งที่ต้องพัฒนาอะไรบ้าง ซึ่งเพียงแค่รายละเอียดเล็ก ๆ นี้ ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นครูที่แท้จริง
“เส้นด้ายหนึ่งเส้น สายใยผูกพันชั่วชีวิต” แม้นักเรียนจะสำเร็จการศึกษาแล้ว ไม่ว่าจะศึกษาต่อหรือก้าวเข้าสู่สังคม คำอวยพร คำสั่งสอน และกำลังใจจากครู จะยังคงหยั่งรากลึกอยู่ในใจของพวกเขา เพื่อเป็นพลังในการเดินหน้าสู่เส้นทางชีวิตต่อไป
ภาพและเนื้อหาโดย : เซียวอี้จวิ้น
ทันข่าว
Daai News
บันทึกเหตุการณ์สำคัญ 30 ปี
การช่วยเหลือภาคเหนือของไทย
จุดเริ่มต้น
01/29

การสำรวจครั้งแรก
04/25

การสำรวจครั้งที่สอง
11/03

โครงการช่วยเหลือ 3 ปี - ปีที่ 1
การสร้างหมู่บ้านห้วยหก, หมู่บ้านมังกาล่า / การดูแลทหารผู้สูงอายุ / การให้คำแนะนำด้านการเกษตร

03/08

05/31

06/01

โครงการช่วยเหลือ 3 ปี - ปีที่ 2
การสร้างหมู่บ้านชาญหลง แม่สลัก / การฝึกอบรมการเกษตร

11/30

โครงการช่วยเหลือ 3 ปี - ปีที่ 3
การดูแลทหารผู้สูงอายุ / การให้คำแนะนำด้านการปลูกชาและต้นกล้าผลไม้

12/31

ช่วงเตรียมการสร้างโรงเรียน
05/13

08/05
เริ่มก่อสร้างโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่
04/27

โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 1
05/16

โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 3
03/15

โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 8
12/13

ศูนย์คุณธรรมและคณะ เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่
เพื่อศึกษาการนำจริยธรรมอันดีงามของมนุษย์มาประยุกต์
ใช้ในการศึกษา โดยหวังจะนำรูปแบบการศึกษาของฉือจี้
ไปขยายผลด้านการศึกษาคุณธรรมสู่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ
โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 9
03/01

โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 13
02/23

โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 17
02/21
05/26
05/30
โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ - ปีที่ 19
09/12
